<

มะดัน

มะดัน (ชื่อวิทยาศาสตร์:Garcinia schomburgkiana pierre.) ผลไม้ ที่เป็นประเภทไม้ยืนต้นแบบไม่มีการผลัดใบชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ GUTTIFERAE ผลมะดันนั้นมีลักษณะที่ยาวรีสีเขียวและก็มีรสชาติที่เปรี้ยวจัด เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซี สูงส่วนใบนั้นมีลักษณะสีเขียวเป็นรูปหอก มะดันนอกจากมีผลที่รับประทานได้แล้วก็ยังมียอดอ่อนและใบอ่อนที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายชนิดด้วย

มะดันนั้นถือว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและก็มีสรรพคุณทางด้านสมุนไพรอีกด้วย

 

มะขามป้อม

มะขามป้อม (Indian gooseberry) เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง และมีคุณค่าทางสมุนไพรด้วย

มะขามป้อมเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือ กันโตด (เขมร – กาญจนบุรี) กำทวด (ราชบุรี) มะขามป้อม (ทั่วไป) มั่งลู่, สันยาส่า (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)

 

มังคุด

มังคุด ภาษาอังกฤษ”: mangosteen) ชื่อวิทยาศาสตร์ Gamangostana Linn. มีชื่อเรียกในภาษามลายู ว่ามังกุสตาน (manggustan) ภาษา เรียกมังกีส ภาษาพม่า เรียกมิงกุทธี ภาษาสิงหล เรียกมังกุส เป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบ ชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ แพร่กระจายพันธุ์ไปสู่หมู่เกาะอินดีสตะวันตก เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 แล้วจึงไปสู่ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส ปานามา เอกวาดอร์ ไปจนถึงฮาวาย ในประเทศไทยมีการปลูกมังคุดมานานแล้วเช่นกัน เพราะมีกล่าวถึงในพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในสมัยรัชกาลที่ 1 นอกจากนั้น ในบริเวณโรงพยาบาลศิริราชยังเคยเป็นที่ตั้งของวังที่มีชื่อว่า “วังสวนมังคุด” ในจดหมายเหตุของราชทูตจากศรีลังกาที่เข้ามาขอพระสงฆ์ไทย ได้กล่าวว่ามังคุดเป็นหนึ่งในผลไม้ที่นำออกมารับรองคณะทูต

 

ลองกอง

ลองกอง เป็นลางสาดพันธุ์หนึ่งชนิดที่เปลือกหนาและยางน้อย โดยลางสาดเป็นไม้ต้นชนิด Lansium domesticum Corrêa ในวงศ์ Meliaceae ผลกลม ๆ ออกเป็นพวง กินได้ เม็ดในขม[1]

ลางสาดนั้นเชื่อว่าเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากบริเวณหมู่เกาะมลายู อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และภาคใต้ของไทย มีหลายชื่อ อาทิ ลังสาด, ดูกู โดยชื่อ “ลางสาด” หรือ “ลังสาด” นั้นมาจากภาษามาเลย์ว่า “langsat”, ชื่อ “ดูกู” มาจากภาษาอินโดนีเซียว่า “duku” และชื่อ “ลองกอง” มาจากภาษายาวีว่า “ดอกอง”

 

ระกำ

ระกำ ชื่อวิทยาศาสตร์: Salacca wallichianaเป็นพืชตระกูลปาล์ม ซึ่งมีต้นหรือเหง้าเตี้ย ยอดแตกเป็นกอ ใบมีลักษณะยาวเป็นทาง ยาวประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นมีหนามแหลมยาวประมาณ 1 นิ้ว ออกผลเป็นทะลาย ทะลายหนึ่งมีตั้งแต่ 2-5 กระปุก เปลือกผลมีหนามแข็งเล็ก ๆ อุ้มไปทางท้ายผล ผลหนึ่ง ๆ มี 2-3 กลีบ เป็นส่วนมากเมื่อดิบมีรสฝาดและเปรี้ยว เมื่อสุกจะมีรสหวานอมเปรี้ยว เนื้ออ่อน บาง กลิ่นหอม ฉ่ำน้ำ ลักษณะใกล้เคียงกับสละ แต่ผลป้อมกว่า เมล็ดใหญ่กว่า สีจางกว่า เนื้อจะออกสีอมส้มมากกว่า

ระกำเป็นพืชที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เจริญเติบโตและให้ผลผลิต ได้ทั่วไปในที่ดอนและชุ่มชื้น ระกำเป็นพืชที่ชอบร่มเงาปกคลุม ดังนั้นชาวสวนจึงนิยม ปลูกพืชขนาดใหญ่อื่น ๆ ให้ร่มเงาแก่ระกำ ระกำจะให้ผลผลิตมากในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ระกำเป็นพืชขึ้นทั่วไป ในพื้นที่ป่าของจังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง ต่อมาได้มีการนำระกำมาปลูกในสวน และปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นพันธุ์ดีขึ้น โดยเฉพาะ จังหวัดตราด เกษตรกรนิยมปลูกระกำกันมาก จนเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่า คือ “ระกำหวานเมืองตราด” ซึ่งจะมีการจัดงานเทศกาลระกำหวานเป็นประจำทุกปี

 

มะขวิด

มะขวิด (อังกฤษ: Limonia) ภาคอีสานเรียกมะฝิด ภาคเหนือเรียกมะฟิด เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลาง อยู่ในกลุ่มไม้ยืนต้นผลัดใบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย สูงถึง 12 เมตร กิ่งแขนงมีหนามเรียวแหลมตรง ยาว 4 เซนติเมตร ใบประกอบ แบบขนนกปลายคี่ ใบออกตรงข้าม มี 2-3 คู่ รูปไข่กลับ ยาวถึง 4 ซม. ก้านใบและก้านใบย่อยมีปีกแคบ ๆ ยาวถึง 12 เซนติเมตร มีจุดต่อมน้ำมัน มีกลิ่นอ่อน ๆ เมื่อขยี้ ช่อดอกออกปลายยอดหรือซอกใบ มีทั้งดอกเพศผู้และดอกสมบูรณ์เพศ มี 5 กลีบ สีขาวครีมแกมเขียว ชมพูหรือแดงเรื่อ ๆ อยู่กันหลวม ๆ ผลเปลือกแข็ง รูปกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 10 เซนติเมตร ผิวเป็นขุยสีออกขาวปนสีชมพู มีเนื้อมาก กลิ่นหอม มีเมือกหุ้มเมล็ด เมล็ดยาว 0.5-0.6 เซนติเมตร เปลือกหนา มีขน

หนึ่งการตอบรับ »

ส่งความเห็นที่ sasichaa56 ยกเลิกการตอบ