ผลไม้เมืองหนาว

กีวีฟรุต
(Kiwi, Chinese Gooseberry,
 Actinidia chinensis)
กีวีฟรุต มีถิ่นกำเนิด ในประเทศจีน แต่มา ได้รับความสำเร็จ ในการปลูก เป็นการค้า ใหญ่โต ที่ประเทศ นิวซีแลนด์ ถึงกับใช้ชื่อใหม่ว่า กีวีฟรุต (kiwi fruit) ซึ่งเป็น ฉายา ของประเทศ นิวซีแลนด์ นั่นเอง เป็น ผลไม้ชนิดเถา เลื้อยต้อง ใช้ค้าง คล้ายกับการปลูกองุ่นผล หน้าตา แปลกคือสีน้ำตาล มีขนปกคลุม ทั่วทั้งผล แต่เนื้อ ในมีสีเขียว และมีเมล็ด เล็ก ๆ สีดำ กระจายอยู่ ทั่วทั้งผล แต่เนื้อในมีสีเขียว และมีเมล็ด เล็ก ๆ สีดำ กระจาย อยู่ทั่วไป สวยงามมาก จึงมักนิยม ใช้ประดับ หน้าขนม หรือแต่งจาน สลัด ไอศกรีม ฯลฯโครงการหลวง ได้ทำการ วิจัยการปลูก กีวีฟรุต มาตั้งแต่ พ.ศ. 2518 พบว่ากีวี ฟรุตต้อง การอากาศ หนาวเย็น ค่อนข้างมาก ขณะนี้ ปลูกได้ดี ที่สถานีเกษตร หลวงอ่างขาง และกำลัง แนะนำส่งเสริม ให้ชาวเขา ปลูก เป็นพืช เศรษฐกิจ ต่อไป 
เรารู้จัก ท้อป่า หรือ ท้อพื้นเมือง กันมานาน แล้ว เป็นท้อ ที่ชาวเขา และจีน ฮ่อนำเข้า มาจากทางตอนใต้ ของประเทศจีน โครงการหลวง ได้ริเริ่ม นำท้อพันธุ์ดี หรือท้อฝรั่ง เข้ามาทดลอง เป็นจำนวนมาก และได้ คัดพันธุ์ที่ดี แนะนำให้ ชาวเขาปลูก ท้อพันธุ์ดี จะมีผลใหญ่ เนื้อมาก หวานฉ่ำ ใช้รับประทานสด หรือทำเป็น ลอยแก้ว ได้ดี ผิดจากท้อ พื้นเมือง ซึ่งต้องใช้ ดองหรือ แปรรูป เท่านั้นท้อพันธุ์ดี ที่แนะนำ ให้ปลูก อยู่ในขณะนี้ ได้แก่ Earli Grande, Flordabelle และ Flordasun ฤดูท้อสุก จะอยู่ใน ช่วงเดือน มีนาคม ถึง พฤษภาคม  ท้
(Peach, 
Prunus persica)
บ๊วย
(Japanese apricot, 
Prunus mume)
ได้มี การปลูกบ๊วย กันมานาน พอสมควร แล้ว ที่จังหวัด เชียงราย แต่เป็นบ๊วย ที่มีคุณภาพ ไม่ค่อยดี ต่อมา โครงการหลวง ได้นำพันธุ์ดี มาจากไต้หวัน และญี่ปุ่น เป็นจำนวนมาก และได้ คัดเลือก พันธุ์ที่ดี ไว้หลายพันธุ์ บ๊วย เป็นไม้ผล ที่ปลูกง่ายและ ไม่ต้อง ดูแลรักษา มากนัก จึงเหมาะ สำหรับชาวเขา โดยทั่วไป ขณะนี้ ในปีหนึ่ง ๆ มีผลผลิต หลายสิบตัน ซึ่งพ่อค้า มีความต้องการมาก และความต้องการ ของตลาด ยังมีอีกมาก นับว่า เป็นไม้ผล ที่เหมาะ ในการบุกเบิก ให้ชาวเขา สนใจ ที่จะทำสวน ผลไม้ และ จะก้าวหน้า ไปสู่ การปลูก ไม้ผล อื่น ๆ ได้ ต่อไป ในอนาคตบ๊วย จะแก่เก็บ ได้ในเดือน มีนาคม ถึงเมษายน ซึ่งโรงงาน จะนำไปแปรรูป เป็นบ๊วยดอง บ๊วยเค็ม และ ผลิตภัณฑ์ จาก บ๊วยอื่น ๆ 
คนไทย รู้จักพลับแห้ง ซึ่ง ส่งมาขาย จากประเทศจีน ตั้งแต่ สมัยโบราณ แล้วต่อมา ก็นิยมพลับสด จากจีน ที่มีเนื้อ และเมื่อสุก เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ประเทศญี่ปุ่น ได้ส่งกลับ เนื้อกรอบ มาขาย คนไทย ก็เปลี่ยนรสนิยม ไปชอบพลับกรอบ ได้อีก นับว่า เป็นผลไม้ ที่คนไทย ชอบมาก อย่างหนึ่ง จึงมีคน พยายามปลูก มานานแล้ว ทางจังหวัด ภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ และเชียงราย เป็นต้น แต่ สมัยนั้น ไม่ค่อยมีพันธุ์ ที่ดี การทำสวนพลับ จึงไม่ค่อย ก้าวหน้า ต่อมา โครงการหลวง ได้นำพันธุ์พลับ จากไต้หวัน และประเทศอื่น ๆ เข้ามา ทดลอง และ ประสบผลสำเร็จ เป็นอย่างดี ขณะนี้ เรามีพันธุ์ ที่เหมาะสำหรับ ทำแห้ง และสำหรับ รับประทานสด หลายพันธุ์ และชาวเขา ได้ทำสวนพลับ และได้ รายได้มาก เป็นที่น่า พอใจฤดูเก็บเกี่ยว จะอยู่ ระหว่าง เดือนกรกฎาคม ถึงกันยายน และ สามารถเก็บไว้ ในห้องเย็น ได้นาน หลายเดือน ทำให้ มีระยะเวลา ในการขาย สะดวกกว่า ผลไม้ อีกหลายอย่าง  ลับ
(Persimmon, 
Diospyros kaki)
ลัม
(Plum, 
Prunus japonica)
พลัม เป็นผลไม้ อีกชนิดหนึ่ง ที่ โครงการหลวง ได้ทำการ วิจัย จนประสบผลสำเร็จ เป็นอย่างดี ในสมัยก่อน มีการนำเข้า มาจากเมืองจีน เรียกกันว่า ลูกไหน ซึ่งเป็นพลัม ที่คุณภาพ ไม่ดีนัก ตามดอยต่าง ๆ บางที จะพบพลัมผล ขนาดเล็ก ปลูกกัน อยู่บ้าง เป็นพลัม ที่จีนฮ่อ นำเข้ามา พลัม ที่โครงการหลวง แนะนำให้ปลูก อยู่ในขณะนี้ บางพันธุ์ เช่น พันธุ์ Gulf Ruby จะมีขนาดใหญ่ และรสดี นอกจาก ใช้รับประทานสด แล้ว ยังใช้ แปรรูป ได้ดี อีกด้วย พลัม จะสุก ใกล้เคียง กับ ท้อ คือประมาณเดือน พฤษภาคม 
ได้มี การทดลอง ปลูก รัสพ์เบอรี่ กันมานาน พอสมควร แล้ว แต่โครงการหลวง ได้ทำการวิจัย อย่างจริงจัง เมื่อ พ.ศ. 2522 จนได้ ผลสำเร็จ และสามารถ ส่งเสริม ให้ปลูกได้ ในขณะนี้ รัสพ์เบอรี่ เป็นไม้เลื้อย ต้องมีค้าง ให้เกาะ พยุงต้น ผล เป็นช่อ มีกลิ่นหอมจัด เป็นพืช ในจำพวกเดียวกับ สตรอเบอรี่ คือรับประทานสด หรือแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ ต่าง ๆ ทำแยม อร่อยมาก และทำ ขนมต่างๆ ได้อร่อยดี  รัสพ์เบอรี่
(Raspberry, 
Rubus idaeus)
ตรอเบอรี่
(Strawberry, 
Fragaria spp.)
สตรอเบอรี่ ในประเทศ มีประวัติ ความเป็นมา ยาวนาน คือ มีการนำพันธุ์ เข้ามา ทดลอง ปลูกหลาย ยุคหลาย สมัยทางภาคเหนือ เช่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ จนกระทั่ง ได้พันธุ์ ที่เหมาะสม สามารถ ปลูกได้ ทั่วไปใน บริเวณ ตัวเมือง เชียงใหม่ และเขตชานเมือง แต่พันธุ์ ในสมัยนั้น มีข้อสีย คือผล ชอกช้ำ ง่าย ทำให้ ขนส่งไปขาย ในที่ไกล ๆ ไม่ได้ โครงการหลวง ได้นำพันธุ์ใหม่ ๆ เข้ามา มากมายหลายพันธุ์ และคัดพันธุ์ได้ 3 พันธุ์ คือ Cambridge Favorite, Tioga และ Sequoia พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทาน ต้นพันธุ์สตรอเบอรี่ ทั้ง 3 พันธุ์นี้ แก่เกษตรกร ที่หมู่บ้าน ช่างเคี่ยน จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2515 และเกษตรกร รู้จักกัน ในนามพันธุ์ พระราชทาน เบอร์ 13,16 และ 20 ตาม ลำดับต่อมา จนถึงขณะนี้ สตรอเบอรี่ ได้กลายเป็น ผลไม้ ที่สำคัญมาก อย่างหนึ่ง ของภาคเหนือ สามารถ ส่งออกได้ ในลักษณะ สตรอเบอรี่ แช่แข็ง และ ทำเงิน เข้าประเทศ ได้เป็น จำนวนมาก ตลาดในประเทศ ก็กว้างขวาง มาก เพราะใช้ ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทั้ง รับประทานสด และแปรรูป 
สาลี่มี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือสาลี่ฝรั่ง (European pear) ซึ่งมีเนื้อนุ่ม และสาลี่จีน (Chinese หรือ Oriental pear) ซึ่งมีเนื้อกรอบ คนไทยนิยม สาลี่จีน มากกว่า เพราะ มีความคุ้นเคย กับสาลี่ ประเภทนี้ มานาน สาลี่พันธุ์ดี ๆ จะมีเนื้อกรอบ แต่ฉ่ำและหวาน หอมชื่นใจสาลี่ ต้องการ ความหนาวเย็น พอควร แต่ปลูก ไม่ยาก เท่าแอบเปิ้ล และมีพันธุ์ ที่ได้มาจาก ไต้หวัน เช่น พันธุ์ Yokoyama wase, Pien Pu, Xiang Sui และ Sung-maoสาลี่ จะสุก ประมาณ เดือน กรกฎาคม ถึง สิงหาคม และ จะขาย ได้ดี ในช่วงสารทจีน จึงนับว่า เป็นผลไม้ ที่มี ตลาดที่ดี อีกอย่างหนึ่ง

 

าลี่
(Oriental Pear, 
Pyrus spp.)
 

อปเปิ้ล
(Apple, 
Malus spp.)
แอปเปิ้ล เป็นผลไม้ ยอดนิยม ของคนไทย มานานแล้ว และ ในขณะนี้ เราก็ยัง ต้องสั่ง เข้ามาขาย เป็นจำนวนมาก ในแต่ละปี แอปเปิ้ล เป็นผลไม้ ที่ชอบ อากาศหนาว และต้องการการ ดูแลรักษา อย่างดี ในการปลูก จึงทำให้ ขยาย พื้นที่ ปลูกได้ค่อนข้าง ช้า แต่คาดว่า คงจะเป็น ผลไม้เศรษฐกิจ ของที่สูงได้ ในอนาคต เนื่องจาก ไม่มีปัญหา ในด้าน การตลาด เลยพันธุ์ที่ส่งเสริม ให้ปลูกคือ Anna และ Ein Shemer ซึ่งเป็นพันธุ์ ที่ไม่ต้องการ อากาศหนาว มากนัก ฤดูเก็บเกี่ยว จะอยู่ในช่วง เดือนมิถุนายน

 

หนึ่งการตอบรับ »

ใส่ความเห็น